วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน)(ครั้งที่5)

Learning  Log   (ในห้องเรียน)
15/09/58
(ครั้งที่5)
                โลกของเราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศึกษาในปัจจุบันจะสังเกตได้ชัดเจนว่าระดับการศึกษานั้นได้มีการพัฒนาอย่างล้ำสมัยซึ่งมีผลกระทบต่อผู้เรียนและผู้สอนเป็นอย่างมาก  ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก  ได้บูรณาการเข้ามาสู่ตัวนักเรียนและครูผู้สอนอย่างจริงจัง   จากอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาเป็นอย่างมากกับระบบการศึกษาไทยจากผลการเรียนหลายหลายกิจกรรมของเด็ก  การประเมินโรงเรียนในด้านต่างๆทำให้เห็นได้ชัดเจนถึงในเรื่องสภาพปัญหาของโรงเรียนนักเรียนและแม้กระทั่งตัวครูเองประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และมีความก้าวหน้าในเรื่องสื่อการเรียนการสอนเป็นอย่างดีแต่มีผลที่ได้มากลับเห็นได้ว่าการศึกษาไทยไม่ได้รับการพัฒนาและไม่ประสบความสำเร็จทุกครั้งในปัจจุบันรู้สึกว่าเด็กๆสะท้อนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี   ปัญหาของเด็กในการเรียนนั้นหรือการสอนของครูนั้นทำให้เด็กไม่มีความสุข  ในการเรียนนั้นถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่องเช่นสภาพการเรียนการสอนของครูที่น่าเบื่อหน่าย  คุณครูใจร้ายที่ไม่เข้าใจเด็ก  คุณครูที่ไม่ค่อยมาสอน  คุณครูที่สั่งการบ้านมากจนเกินไป  เด็กต้องทำงานดึกในทางกลับกันเด็กๆอยากให้คุณครูรักและเข้าใจพวกเขามากขึ้น  หรือทำโทษพวกเขาจนเกินไป อยากให้คุณครูใจดีจากสังคมปัญหาที่เกิดขึ้นมีมากมาย  ทำให้เด็กไทยมีปัญหาในการศึกษาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสังคมประชาคมอาเซียนที่ใกล้เข้ามาการเรียนการสอน  ในประเทศไทยต้องมีการจับมือในทุกด้านของการศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนและครูผู้สอนที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้การศึกษาของประเทศไทยมีความก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะครู   ครูเป็นเสาหลักของระบบการศึกษาในประเทศไทยการที่เราจะพัฒนาเด็กได้นั้นการศึกษาควรมีการประเมินทุกด้านของครู  เพื่อเป็นการตรวจสอบความพร้อมของครูที่จะเป็นครูในประชาคมอาเซียนและการปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษาเรื่องหลักสูตรที่สามารถพัฒนาศักยภาพเด็กให้มีศักยภาพสูงสุดโดยในตอนนี้การศึกษาไทยควรที่จะเตรียมความพร้อมของผู้เรียนครูหลักสูตรการเรียนรู้ที่ชัดเจนมากขึ้น  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและครูที่ดีในประชาคมอาเซียน
                เทคนิคการเขียนการสอนแบบบูรณาการ   เป็นคำที่ทุกทุกโรงเรียนมีการใช้กันอย่างต่อเนื่อง ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในการปฏิรูปการศึกษาของไทยอาจกล่าวได้ว่าการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นแนวทางที่สำคัญของการปฏิรูป การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   ซึ่งเป็นภารกิจที่ครูในยุคปัจจุบัน ทุกคนจะต้องปฏิบัติ   การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนวนี้จะช่วยให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญของความเชื่อมโยงของแต่ละวิชาที่มีต่อกัน   โดยสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับการออกแบบที่เหมาะสมโดยมีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ 1. เนื้อหาสาระประกอบด้วยหัวเรื่องที่จะศึกษาปัญหาหรือจุดในการเรียนรู้ 2. ทักษะและกระบวนการคิดครูต้องฝึกฝนเด็กให้มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์มีความเข้าใจในด้านการอ่านการวิเคราะห์เป็นต้น 3. การประเมินผลพิจารณาจากผลงานของเด็กที่แสดงให้เห็นถึงทักษะต่างๆและกระบวนการคิดครูอาจดูจากการเขียนเรียงความ  การทำชิ้นงานและการแสดง งานเดี่ยวของเด็ก  โครงงานการจดบันทึกและการเข้าร่วมชั้นเรียนของเด็ก  ทั้งนี้องค์ประกอบข้างต้นของการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ การฝึกทักษะและกระบวนการคิดและการประเมินผลจะต้องทำอย่างเชื่อมโยงกับวิชาต่างๆด้วย   โดยหลักการสอนแบบบูรณาการมีดังนี้ 1. ควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาของสิ่งที่เด็กเรียนอย่างเป็นบูรณาการ   โดยครูต้องเลือกจุดเชื่อมโยงที่สำคัญของแต่ละเนื้อหาวิชาให้เห็นเพื่อให้เด็กสามารถตั้งโจทย์หรือหัวข้อปัญหาในแต่ละวิชาได้ หัวข้อในการเขียนการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะต้องเป็นการเรียนการสอนจากของจริง และต้องเป็นประโยชน์กับตัวผู้เรียน นอกจากนี้ครูจะต้องพัฒนาเด็กให้คุ้นเคยกับการหาความรู้ การตั้งสมมติฐานและวิธีการตั้งคำถามในเรื่องที่มีเนื้อหาสาระต่างๆในหลากหลายวิชา  เพื่อให้เด็กสามารถเลือกคำถามที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ในสถานการณ์หนึ่ง นอกจากนี้แล้วแนวคิดหลักและวิธีการสอนที่ใช้กับหลากหลายวิชาเหล่านี้  ครูต้องสอนให้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยบูรณาการ และสอนในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับความสนใจระดับสติปัญญาและพัฒนาการทางสังคมของเด็ก 2. สร้างชุมชนการเรียนรู้ที่ทั้งครูและเด็กสามารถเลือกหัวข้อจดและยุทธศาสตร์ในการเรียนด้วยกันได้ ครูและนักเรียนจะต้องรักษาดุลยภาพของประสบการณ์   การเรียนรู้ระหว่างเรื่องที่ครูคิดขึ้น และเรื่องที่นักเรียนคิด 3. พัฒนาห้องเรียนให้เป็นประชาธิปไตยเลือกหลักสูตรและจัดห้องเรียนที่ก่อให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ที่สามารถ  ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทั้งความเป็นอิสระในฐานะที่เป็นผู้สืบค้นความรู้  ความสามารถ  ในการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนต่างห้องและเพื่อนนักเรียนหรือกับครูในการตั้งคำถามและความสามารถสืบค้นหัวข้อการเรียน   ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาครูต้องให้กำลังใจเด็ก  ด้วยการเพิ่มความรับผิดชอบด้านการเรียน  เพื่อที่เด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่จะหาข้อมูลต่างๆเข้าใจและถ่ายทอดความคิดของตนเองออกมาเป็นคำพูดได้และมีความฉลาดและสามารถในการตัดสินใจ  4.สร้างโอกาสที่หลากหลายในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติในด้านบวกต่อผู้อื่นและการเรียนรู้ 5. เคารพความหลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรมนักเรียนคนเรียนโดยใช้ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่หลากหลายสร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวางและมีหลายมุมมอง 6. สอนให้นักเรียนใช้ข้อมูลหลายแหล่ง  และหลากหลายเป็นผลดีกับเด็กที่มีวิธีการเรียนรู้ความสนใจและระดับความสามารถที่แตกต่างกัน ครูควรสอนให้เด็กเห็นความสำคัญของการตรวจสอบซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและลดอคติ   รวมทั้งพัฒนาความสามารถของเด็กในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับการสืบค้นข้อมูลในการแก้ปัญหาต่างๆ 7 ใช้ระบบสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบเป็นเครื่องมือในการนำเสนอความรู้ 8. ใช้วิธีประเมินหลายรูปแบบทั้งในแง่กระบวนการและการแสดงออกทางการเรียนรู้ของเด็ก   การตัดสินใจจะสอบแบบใดควรอยู่บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์การประเมิน อย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ   เช่น  การพิจารณาจากแฟ้มผลงานของเด็กการประเมินการแสดงออกด้านการเรียนรู้ของเด็กนี่คือหลักการสอนแบบบูรณาการ   นอกจากการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อการพัฒนาคุณภาพของครูเองแล้วยังก่อให้เกิดผลดีต่อความสัมพันธ์ทั้งกับครูอีกด้วยโดยเฉพาะในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน     นอกจากเราจะเอาการสอนแบบบูรณาการแล้วการที่เราจะเป็นครูที่ดีในอาเซียนนั้นต้องมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมเพื่อที่จะรับมือในระบบการศึกษาในประชาคมอาเซียนได้  การปรับตัวด้านการเรียนและการเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา   คือ   ต้องพัฒนาศักยภาพของครู   เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านการสอนในประชาคมอาเซียนการสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และสามารถเรียนรู้ประเพณีทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม   เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันพร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดีนอกจากต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้แล้วเพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน   เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมการกินการอยู่การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน    จำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้านเราด้วย    ในอาเซียนแต่ละประเทศจะมีจุดเด่นในลักษณะของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมหาวิทยาลัยหลายแห่งเตรียมพร้อมที่จะรับมือเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ขณะที่ เพื่อนบ้านเราเตรียมพร้อมเช่นกันดังนั้นโรงเรียนต่างๆ ต้องเตรียมตัวให้กับนักเรียนก่อนที่จะเข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะภาษาอังกฤษผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจะมีโอกาสสูงที่จะเลือกไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในต่างประเทศโดยเฉพาะครูซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในระบบการศึกษาการที่เด็กไทยจะก้าวไกลสู่อาเซียนได้นั้น   ครูเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเด็กเพื่อให้มีศักยภาพสูงสุด     โดยครูที่ดีในยุคประชาคมอาเซียนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้     1. มีวิสัยทัศน์เป้าหมายในการทำงานและมีการวางแผนที่ดี 2. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเฉพาะด้านและรอบรู้ในหลายด้านทั้งต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา 3. ต้องทำให้เด็กรู้จักคิดว่าตนเองเป็นอย่างไรคิดเป็นไม่เพ้อฝัน  4.ครูต้องเข้าใจอ่านใจเด็กได้ว่าถนัดและสามารถอะไร เพื่อชี้แนะเด็กได้ถูกทาง 5.ครูต้องมีคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริตและเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน 6. ครูต้องไวและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการปรับแผนการจัดกิจกรรมให้เด็กหาข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหา 7. ครูต้องส่งเสริมในสิ่งที่เด็กชอบเพื่อเป็นการค้นพบศักยภาพของตนเอง 8. คู่ต้องมองทุกอย่างอย่างเป็นระบบ 9. ให้ลูกศิษย์ช่วงชิงโอกาสทองของชีวิต 10. ต้อง รู้จักประยุกต์ทฤษฎีให้สอดคล้องกับการปฏิบัติที่เป็นจริงทั้งในด้านการสอนและการทำงาน
                การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันในทุกด้านมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาของไทยนั้นได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาโดยเฉพาะในการสอนของผู้ครูผู้สอน และการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆที่ปัจจุบันมีการเรียนการสอนที่เน้นแบบบูรณาการมากขึ้น เพื่อเป็นการฝึกทักษะของเด็กให้เด็กมีความรู้และศักยภาพในการเรียนมากขึ้นและ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อให้เด็กไทยสามารถขับเคลื่อนศักยภาพการเรียนรู้ได้เร็วและไม่แพ้ชาติใดในประชาคมอาเซียนด้วย  การสอนแบบบูรณาการนั้นมีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนการสอนฝึกให้ผู้เขียนมีความกล้าแสดงออกและความคิดที่กว้างขวางขึ้น  ตลอดจนครูถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ผู้ที่ได้ชื่อว่าครูเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อ ภารกิจในการพัฒนาเยาวชน ของชาติ ครูที่มีคุณภาพย่อมเป็นเครื่องการันตีได้ถึงแนวโน้มในการมีทรัพยากร   ครูนอกจากจะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครูแล้วครู ต้องเป็นผู้ทรงความรู้ในเนื้อหาที่ต้องถ่ายทอดสู่ผู้เรียน และครูยังต้องจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ  เพื่อประสิทธิภาพของผู้เรียนโดยมุ่งหวังเพื่อพัฒนาเยาวชนและนักเรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต

การฝึกในด้านทักษะต่างๆการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นโดยเป็นการฝึกฝนเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น