วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแปล

การแปล

ความสำคัญของการแปล
              ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง  ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการติดต่อกันมากขึ้นทุกวัน การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น ผู้ที่ทำการติดต่อนั้นบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปลเพื่อประหยัดเวลาและเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้และได้รับการยกย่องว่าเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ
            การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ปรากฏว่าภาษาอังกฤษมรปริมาณการใช้มากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ
               1.หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ
               2.มีการติดต่อกับชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น
               3.มีตำรา


การแปลในประเทศไทย
     การแปลในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการและเดินทางกันได้สะดวก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และ สร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติทำให้เกิดสันติภาพในโลก
     งานแปลของไทย เช่นเดียวกันจากการที่เรามีบริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทศ มีผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศ ในด้านต่างๆ  และเพื่อการศึกษาของชาติ จึงมีการแปลตำราเหล่านี้เป็นภาษาไทย เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจ และนักการเมือง ในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศ จึงควรมีการแปลงงานทุกอย่างหรือแปลมาเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน และระหว่างสังคม ระหว่าง วัฒนธรรม ที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นงาน ด้านวิชาการหรือเรื่องสั้น วรรณคดี และบทประพันธ์ต่างๆ และการแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ในการพัฒนาทางวรรณคดี วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  โดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กับ เทคโนโลยี หากเกิดข้อผิดพลาดในห้องทดลองอาจเกิดอันตรายได้


 การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ ผู้แปลจะต้องติดตามข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าการแปลนั้นสำคัญ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
     การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ  นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและนำมาใช้ในวิชาการแปล เพราะจะทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดีไม่เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยคบางแบบโดยเฉพาะประโยคที่มีโครงสร้างยากๆทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่จะใช้แปล


การแปลคืออะไร
     การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับ การแปลจึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติกันได้ การแปลทางด้านวรรณคดีและการแปลร้อยกรองนั้นเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน


ผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดีมีความสามารถในการใช้ภาษา
2. รักการอ่าน ค้นคว้า
3. มีความอดทนมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4. มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง

นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนโดย ไม่ขาดหรือไม่เกิน

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปลคือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนแปลให้ได้ผล วิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ 2 ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
 4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
     สรุป การแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงามจนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังอ่านสำนวนแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิดจนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับการอ่านจากต้นฉบับทีเดียว


บทบาทของการแปล
     ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ขบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเรื่องพิเศษ  ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา ความรู้ อาชีพ สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี


ลักษณะของงานแปลที่ดี
     ลักษณะของงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้ชัดเจน ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาหรือสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ


ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.  ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
2.  สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3. ใช้การแปลตีความ เก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ


สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาตันฉบับ และใช้ภาษาแปลที่ดี
2.เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าอยู่เสมอ
3.เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณในการแปล
4.เป็นผู้ที่มีใจกว้าง รับฟังความเห็นของผู้อื่นเสมอ


การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตนการให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1.  การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.  การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำ ตลอดจนสถานภาพต่างๆ


การแปลกับการตีความจากบริบท
     ความใกล้เคียง และความคิดรวบยอด ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพของข้อความ ความหมายของคำรอบข้างหรือบริบทของข้อความ ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้

การวิเคราะห์ความหมาย
การวิเคราะห์ความหมาย มี 3 อย่าง คือ
           1. องค์ประกอบของความหมาย
เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย คือ
1. คำศัพท์ คือคำที่ตกลง ยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาที่จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2. ไวยากรณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3. เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ นำเสียงเหล่านี้มารวมกันเข้าอย่างมีระเบียบ จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือคำศัพท์
         2. ความหมายและรูปแบบ
ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1. ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปประโยคที่ต่างกันหรือใช้คำที่ต่างกัน
2. รูปเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
         3. ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน
1.  ความหมายอ้างอิง (Referential meaning) หรือความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ อาจเป็นความหมายทั่วๆไป หรือเป็นความหมายอ้างเฉพาะ
2. ความหมายแปล (Connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3. ความหมายตามบริบท (Contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา (Figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และการเปรียบโดยนัย ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ ออกเป็น 3 ส่วนคือ
4.1.สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2.สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3ประเด็นของการเปรียบเทียบ

การเลือกบทแปล
     เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนเองในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทางด้านทักษะทางด้านของภาษาและเนื้อหาไปด้วย


เรื่องที่จะแปล
     เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขาจะต้องเลือกว่าแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ที่ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการแปลระดับชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ


ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

    คำว่าโครงสร้าง ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Structure โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย  ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้

1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
     ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึง ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง  ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1. คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ (marker) ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่
1.1.1 บุรุษ  (person) บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยค หมายถึง ผู้พูด (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่ 3)
1.1.2 พจน์ (number) พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง 
1.1.3 การก (case) การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร
1.1.4 นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็นนามนับได้และนามนับไม่ได้  
ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้ แล้วเราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคำนามต่างๆ 
ในภาษาอังกฤษมีการใช้หน่วยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้ แต่ก็ไม่เป็นระบบทั่วไปเหมือนภาษาไทย
1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ

               การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชี้เฉพาะนี้ไม่มีในภาษาไทย จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับคนไทย ดังนั้นเวลาคนไทยแปลไทยเป็นอังกฤษจึงต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ ตรงกันข้าม เมื่อแปลอังกฤษเป็นไทยลักษณะความแตกต่างดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องแสดงในภาษาไทยเพราะถ้าแสดงจะทำให้ฟังดูรกรุงรังไม่เป็นธรรมชาติ

2. คำกริยา คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท ดังนี้
2.1 กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล
2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) การณ์ลักษณะ หมายถึง ลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์

                โดยเหตุที่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างเด่นชัดในแง่ที่ภาษาอังกฤษถือว่าเรื่องเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก ทุกประโยคที่พูดหรือเขียนจะต้องมีการตัดสินหรือแสดงให้ชัดว่าเกิดเหตุในอดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต และเหตุการณ์ใดเกิดก่อน หรือเกิดหลัง แต่ภาษาไทยถือว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่เป็นสิ่งสำคัญ ผู้อ่านสามารถตีความได้เองจากบริบท แม้นว่าจะไม่ตีความก็ไม่เป็นไร เพราะผู้พูดไม่เน้นเรื่องเวลาของเหตุการณ์ หรืออีกนัยหนึ่ง ในภาษาไทย การกล่าวหรือเล่าเรื่องใดก็ตาม เวลาเป็นเรื่องลอยตัว ไม่ต้องระบุให้ชัดแจ้ง

2.3 มาลา (mood) มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์ หรือเรื่องที่พูดอย่างไร มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยาหรือแสดงโดยใช้คำกริยาช่วย ที่เรียกว่า model auxiliaries   ในภาษาไทยมาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือคำวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยาคำ

2.4 วาจก (voice) วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาอังกฤษประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก แต่ในบางกรณี กริยาจำเป็นต้องอยู่ในรูปกรรมวาจก เพราะผู้พูดอาจไม่ต้องการระบุผู้กระทำ แต่ต้องการเน้นผู้ถูกกระทำแทน ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับไทยประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไป

                  ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทยเสมอไป

2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite) คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดียวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้ 

 3. ชนิดของคำประเภทอื่น
     ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกิริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่ากับนามกับกริยา อย่างไรก็ตาม คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้แก่ คำบุพบท (preposition) ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา คำ  adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทยเพราะต้องใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของ

               ที่กล่าวมาเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการ ซึ่งถ้าผู้แปลมีความเข้าใจ จะช่วยให้การแปลทำได้ง่ายขึ้น

2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
     หน่วยสร้าง (construction) หมายถึง หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง
ซึ่งผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ดังนี้
2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด(determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
      นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ (ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม) นอกจากนั้นตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก(อังกฤษ)  vs.ส่วนหลัก+ส่วนขยาย (ไทย)
     ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้ แต่หากส่วนขยายยาวหรือซับซ้อน ผู้แปลอาจแปลเป็น relative clause หรือขึ้นประโยคใหม่โดยเก็บใจความ
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
     ดังที่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่องวาจก(voice)ในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแล้ว ผู้แปลจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษกับประโยคเน้น topic (ไทย)
     ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาเน้นsubject (subject-oriented language)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
     หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

สรุป
   การแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้น มีลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกัน (แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องดังนี้          -เรื่องชนิดของคำ
                                      -เรื่องไวยากรณ์
                                      -เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค



     ข้อสรุปท้ายสุด คือ หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้น ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลง และผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด