วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Leaning Log (นอกห้องเรียน) (ครั้งที่ 6 )

Leaning Log (นอกห้องเรียน)
15/08/58
(ครั้งที่ 6 )
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญภาษาหนึ่งในการสื่อสารของโลก ภาษาอังกฤษสามารถที่จะนำไปสู่การทำงานและการศึกษา ภาษาอังกฤษมีหลากหลายทักษะในการที่จะให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน ทักษะต่างๆในการเรียนภาษาอังกฤษ การที่เราจะทำงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้น การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานโดยเฉพาะการฟังเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงาน การศึกษาเล่าเรียน การที่เราฟังภาษาชาวต่างชาติได้เข้าใจและรู้เรื่องนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ได้เปรียบมากกว่าคนอื่นๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามก็สามารถที่จะสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วคนส่วนใหญ่จึงพยายามฝึกฝนการฟังจากผู้คนรอบข้างที่เป็นชาวต่างชาติหรือฟังจากวิทยุหรือเพลงหนังต่างๆโดยการฟังบทสนทนานั้นจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและซึมซับสำเนียงภาษาอังกฤษได้เร็วยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา ถ้าเราสนใจที่จะฝึกมัน เพียงแค่เราฝึกฝนและประสบการณ์เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถฟังได้อย่างเข้าใจ เทคนิคการฟังภาษาอังกฤษให้เก่ง กับคำที่พูดว่า ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องโดยสาเหตุที่สำคัญคือ การที่เด็กไทยไม่มีความพยายามในการเรียนรู้ การฝึกทักษะการฟังจึงเป็นสิ่งที่นักเรียนไม่ชอบ การฟังจึงเป็นทักษะแรกเริ่มที่สามารถพัฒนาได้อย่างไม่จำกัดโดยเฉพาะดิฉันมีความบกพร่องเป็นอย่างมากในการฝึกทักษะการฟัง ดิฉันจึงพยายามที่จะฝึกฝนหลายๆอย่างต่างๆนานา เพื่อพยายามฝึกฝนให้ตนเองโดยการเริ่มจากการเปิดใจ การพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาฝึกฝน ดิฉันพยายามเรียนรู้และพยายามฝึกฝน โดยในขณะที่ดิฉันพยายามฝึกฝนและเรียนรู้ ดิฉันสามารถฟังได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่ถือว่าดี สำหรับการที่เราจะฝึกทักษะการฟังให้ดีนั้น ดิฉันมีเทคนิคในการฟังเพราะการที่เราจะเก่งภาษาอังกฤษได้เราต้องฟังอย่างเข้าใจ และอย่างต่อเนื่องซึ่งการฟังอย่างเข้าใจและอย่างต่อเนื่องนั้นสามารถทำให้เราเป็นผู้ฟังที่สามารถทำให้เราเป็นผู้ฟังสามารถเข้าใจเนื้อหาอย่างง่ายดาย คือ เทคนิคการฟังอย่างเข้าใจ และเทคนิคการฟัง 3 มิติ
                เทคนิคการฟังอย่างเข้าใจนั้น เป็นการฝึกทักษะภาษาอังกฤษในด้านการฟังที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจชาวต่างชาติในการสนทนาหรือการสื่อสารได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ฟังเนื้อหารอบแรกรวดเดียวจบโดยไม่ดูบทสนทนาที่แนบมากับคลิปเสียง พยายามตั้งใจฟังทำสมองให้โล่งไม่ต้องกังวลว่าจะฟังไม่รู้เรื่องพยายามตั้งใจฟังอย่างเงียบ 2. ฟังซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม อาจจะฟังออกบ้างบางตัวหรือบางตัวบางคำยังฟังไม่ออกเลย แต่ยังคงฟังต่อไปจนจบและฟังอย่างเงียบๆ หายใจเข้าลึกๆสมองโปร่ง  3. ฟังและหยุดคลิปทุกๆ5นาที ขณะที่หยุดนั้นให้เขียนคำหรือวลีอะไรก็ได้ที่ได้บินออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อฟังจบทั้งหมดคลิปลองอ่านโน้ตย่อๆ และลองจับประเด็นดูว่าคลิปนี้พูดถึงเรื่องอะไร และลองจับประเด็นดูว่าคลิปนี้พูดถึงเรื่องอะไร 4. ทำซ้ำแบบเดิมกับข้อ3 แต่พยายามเติมคำศัพท์ลงไปให้มากขึ้นกว่ารอบที่แล้ว และแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ จากการเขียนครั้งแรก 5. เขียนเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นประโยคลองใช้ความรู้ด้านไวยากรณ์ปะติดปะต่อและวลีต่างๆเข้าด้วยกัน 6. เก็บโน้ตย่อชิ้นแรกออกไปเริ่มฟังคลิปอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้หยุดคลิปทุกๆ 10 วินาทีแล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาเหมือนเดิมจากนั้นลองนำมาเปรียบเทียบกับโน้ตย่อชิ้นเก่าดู 7. ฟังคลิปเสียงอีกครั้งโดยอ่านโน้ตย่อของตัวเองไปด้วย 8. เปรียบเทียบโน้ตย่อกับบทความจริงที่ถูกต้อง ถ้าพบว่ามีคำผิดเยอะ ต้องลองวิเคราะห์ดูว่าปัญหาของเราเกิดจากอะไร บางคนออกเสียงไม่ถูก บางคนไม่รู้คำศัพท์ และแก้ปัญหาให้ตรงจุด 9. ฟังคลิปอีกครั้งไปพร้อมๆกับการอ่านบทความที่ถูกต้องเพื่อเช็คว่าตรงส่วนไหนบ้างที่คุณพลาดไป จากนั้นลองกลับไปฟังรอบสุดท้ายแบบไม่อ่านโน้ตและบทความเลย ซึ่งพอถึงขั้นตอนนี้คุฯจะเข้าใจเรื่องราวมากขึ้น การฟังนั้นหากเราสามารถเข้าใจและฟังอย่างถูกต้อง จะทำให้เราสนุกกับการฟังมากขึ้น เช่นการฟังเพลง การฟังข่าว ซึ่งการฟังนั้นมีหลากหลายมิติที่เป็นจุดประสงค์ในการฟัง เพื่อสามารถทำให้เราสามารถแยกแยะการฟังได้ถูกต้องง
                เทคนิคการฟัง 3 มิติ เป็นการฟังที่บ่งบอกถึงจุดประสงค์การฟังในด้านต่างๆ เพื่อเป็นการรับรู้ข่าวสารเนื้อหาต่างๆ มาใช้ในการประมวลตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ โดยมีเนื้อหาดังนี้ มิติที่1. การฟังเพื่อรับรู้เนื้อหา หรือคำพูดที่ผู้พูดออกมา เป็นคำบรรยาย ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาอะไรก็ตามที่เอ่ยออกมาพูดเร็วหรือช้า มีเหตุผลหรือกระโดดไปมา โดยทั่วไปเรามักจะฟังได้เนื้อหาหรือเข้าใจว่าคำที่พูดบอกเราคืออะไร มิติที่2. การฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึก อะไรคือความรู้สึกเบื้องหลังคำพูดเหล่านั้น ตอนนี้ผู้พูดรู้สึกอย่างไร เขาและเธอรู้สึกอย่างไรต่อเรื่องที่เล่า การวังเกตภาษาที่ไม่ใช่คำพูดก็จะช่วยได้มาก ในบางกรณีความรู้สึกของผู้พูดอาจแสดงไม่เด่นชัดแบบนี้ เราผู้ฟังยิ่งต้องเปิดใจรับฟังให้ลึกซึ่งเข้าไปอีก หรือสังเกตพฤติกรรมต่างๆ อย่างละเอียดมากขึ้น มิติที่ 3. การฟังเพื่อรับรู้ความตั้งใจ หมายถึง ที่จริงแล้วผู้พูดมีความตั้งใจอะไร ผู้พูดมีแนวโน้มจะทำอะไรเกี้ยวกับเหตุการณ์นั้น เริ่มต้องอาศัยการตีความของผู้ฟังเข้ามาช่วย จะทำให้เราเข้าใจและรู้จุดประสงค์การฟังมากขึ้น

                ทักษะการไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราสามารถฝึกฝนได้ตลอด การที่เราจะฟังได้ดีนั้น เราต้องมีการเปิดใจเพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ๆ พยายามค่อยๆฝึกฝน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป การฝึกการฟังภาษาอังกฤษเป็นทักษะง่ายๆที่ทุกคนสามารถทำได้ เนื่องจากการฝึกฝนทักษะการฟังมีหลากหลายช่องทางที่เราสามารถเข้าใจและฝึกฝนตามใจที่เราชอบ การฟังเป็นทักษะแรกที่เราควรให้ความสำคัญเนื่องจากทำให้เราสามารถเข้าใจอะไรที่ตามมาได้ง่ายขึ้น เช่นทักษะการพูด ทักษะการพูดสามารถฝึกควบคู่ไปกับทักษะการฟังได้การฝึกฝนบ่อยๆ ทำให้เราเข้าใจและรู้ข้อบกพร่องของตนเองมากขึ้น และสามารถนำข้อบกพร่องมาแก้ไขและพยายามฝึกฝนต่อไปแก้ไขข้อบกพร่องให้ตรงจุด จะทำให้เราเข้าใจและสนใจที่จะเรียนรู้มากขึ้นหากเรามีความมั่นใจในทักษะการฟังของเราแล้ว เราสามารถที่จะฟังเพลงสากล ดูหนังฝรั่งได้อย่างสนุกและง่ายดาย นอกจากนี้เรายังสามารถฟังชาวต่างชาติได้อย่างเข้าใจมากขึ้น ทักษะเหล่านี้สามารถช่วยให้เรามีความแข็งแรงในทักษะด้านการฟังมากขึ้น แค่ลองฝึกฝนบ่อยๆ ค่อยๆ ซึมซับภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ไม่ยากเลย หากเราพร้อมที่จะเรียนรู้มัน ภาษาอังกฤษก็จะเป็นภาษาที่เราสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายแค่เรามีความมั่นใจ และพยายามฝึกฝนบ่อยๆ เราก็สามารถเป็นผู้ฟังภาษาแงกฤษที่เก่งในอนาคตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น