วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log(นอกห้องเรียน) (ครั้งที่10)

Learning Log(นอกห้องเรียน)
13/10/58
(ครั้งที่10)
                ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทย และคนทั่วโลกอย่างมาก เนื่องจากความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร และการคมนาคมทำให้ประเทศต่างๆมีความใกล้ชิดต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นจึงเกิดความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน อีกทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องแต่ยังพบว่านักเรียนส่วนมากยังฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษแทบจะไม่รู้เรื่อง พูดภาษาอังกฤษได้น้อยหรือได้ยังไม่มากเท่าทีควร ความสามารถในการอ่าน และทำความเข้าใจเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง รู้คำศัพท์น้อย สะกดคำไม่เป็น ไม่สามารถเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง การสอนที่ยึดเนื้อหามากเกินไป ครูมุ่งที่จะอธิบายเนื้อหาและหลักไวยากรณ์จนทำให้การสอนแบบที่มีครูเป็นศูนย์กลาง และนักเรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากพอ สาเหตุที่เกิดจากนักเรียน คือ นักเรียนไม่เห็นความจำเป็นหรือประโยชน์ของภาษาอังกฤษ คิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย เนื่องจากนักเรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนค่อนข้างน้อย การเรียนการสอนยึดเนื้อหาในตำรามากเกินไปทำให้นักเรียนต้องเรียนแบบท่องจำและเครียดเมื่อต้องสอบ ส่งผลให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นการแข่งขัน การเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นเรื่องที่ไม่สนุก  และไม่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความใฝ่รู้ การเขียนเป็นถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้นในการเขียนเราต้องมีความสามารถอย่างแท้จริงในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาเป็นอย่างดี ซึ่งการที นักเรียนจะมีทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีนั้น นักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนเป็นเวลานาน    การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน กระบวนการทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้ ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด     การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้เรียนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) โครงสร้างไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียน  ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การเขียนมีหลายประเภท เช่น การเขียนเรื่องสั้น การเขียนเชิงวิชาการ  การเขียนสารคดี แต่ละประเภทก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์  หัวใจสำคัญของการเขียน คือสิ่งที่จะทำให้เราเขียนได้ดีขึ้นนั้น เราต้องรู้ถึงหัวใจสำคัญของการเขียนก่อนว่า เราเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร เขียนให้ใครอ่าน  วิธีแก้ไขและพัฒนาทักษะการเขียน เราต้องพิจารณาก่อนว่าอะไรคือจุดอ่อนที่ทำให้เราเขียนไม่ได้แล้วแก้ปัญหาได้ตรงจุด  ในการเรียงลำดับของคำในเรื่องของเวลาและ Tense ต่างๆ  และวิธีแก้ไขการเขียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น 
                การเรียงลำดับของคำในเรื่องของเวลาและ Tense ต่างๆ แม้ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบประธาน + กริยา + กรรม เหมือนกันอย่างฉันรักเธอกับ I love you. แต่เวลาใส่คำขยายต่างๆ เข้าไปในประโยค ลำดับจะต่างกันอย่างฉันมีกระเป๋าสีแดง ก็เป็น I have a red bag นอกจากนี้เวลาทำเป็นประโยคคำถาม ภาษาอังกฤษก็จะย้ายคำกริยามาไว้หน้าประธาน ทั้งที่ภาษาไทยไม่มี เช่น นั่นคือแฟนเธอรึเปล่า กับ Is that your boyfriend? หรือเธอชื่ออะไร What is your name? (แปลตรงตัวได้ว่าอะไรคือชื่อเธอ)    ในเรื่องกาลภาษาไทยไม่ต้องเปลี่ยนรูปตามกาล จะกินเมื่อวาน วันนี้ หรือพรุ่งนี้ ก็ยังคง กินอยู่วันยังค่ำ แต่ภาษาอังกฤษกลับมีตั้ง 12 Tenses ทั้งอดีตของอดีต ทำแล้วจบแล้วในอดีต ทำแล้วแต่ยังไม่จบ จะทำแบบแน่นอน จะทำแบบยังไม่แน่นอน หรือแม้แต่กาลปัจจุบันอย่าง Present Simple Tense ที่กริยายังต้องเติม –s, -es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์อีก เรื่องTense ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงในการเขียนงานทุกประเภท
                วิธีแก้ไขการเขียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น   วิธีที่ดีที่สุดคือคิดเป็นภาษาอังกฤษไป ห้ามคิดเป็นภาษาไทยแล้วแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษ เพราะรายละเอียดหลายๆ อย่างอาจจะตกหล่นระหว่างการแปลได้ มันพูดง่ายแต่ทำยากสำหรับใครหลายๆ คน เพราะมันต้องอาศัยความคุ้นเคย ถึงจะทำให้คิดเป็นภาษาอังกฤษได้เลย แต่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการฟังหรืออ่านก็ได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการใช้ภาษา แต่ในระหว่างที่ยังไม่คุ้นกับการใช้ภาษาอังกฤษ ก็มีวิธีช่วยพัฒนาทักษะการเขียน ดังนี้ การเขียนร่างหลายๆ ครั้งหรือเขียนแล้วทบทวนแก้ไขหลายรอบ อย่าเขียนครั้งเดียวส่ง ร่างเสร็จก็ตรวจทานใหม่ ถ้าเป็นการบ้านที่อีกนานกว่าจะส่งก็ให้รีบทำแต่เนิ่นๆ ตรวจรอบแรกแล้วทิ้งไว้ซัก 3 วันแล้วมาอ่านอีกที แก้ไขแล้วก็เว้นไว้อีก 5 วันมาแก้อีกรอบ ควรเว้นจังหวะระหว่างการแก้ไขแต่ละครั้งด้วย (เหมือนแต่งนิยาย) ครั้งหลังๆ มาอ่านก็จะรู้สึกว่า วันนั้นฉันเขียนอะไรลงไปบ้างจับอะไรรวมกันได้ก็รวมเข้าด้วยกัน รู้สึกว่าทำไมงานเขียนตัวเองมันดูพื้นๆ มากเลย มีแต่ I am. He is. They are. เต็มไปหมด เช่น He has beautiful eyes. They are green. He is looking right at me. ก็ลองรวมเป็น His beautiful green eyes are looking right at me. ซึ่งสามารถฝึกการแปลงรูปประโยคได้จากการอ่านและฟังเยอะๆ ดูหนังฟังเพลงจัดเต็มไปเลยค่ะ  การอ่านออกเสียงทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประสาทสัมผัสที่เพิ่มขึ้นก็เหมือนกับตัวช่วยตรวจสอบที่เพิ่มขึ้น บางทีพูดไปพูดมาน้องก็อาจจะรู้สึกแปลกๆ ขึ้นมากับบางประโยคหรือขยันพิมพ์ภาษาอังกฤษในสเตตัส ใครจะว่าก็ช่าง แต่เราทำเพื่อพัฒนาทักษะตัวเอง เวลาอยากจะเมาท์หรือวิจารณ์หนังที่เพิ่งไปดูมา ก็ลองเปลี่ยนมาอัพสเตตัสเป็นภาษาอังกฤษแทน พยายามแสดงเหตุผลไปเยอะๆ พระเอกหล่อยังไง ตัวโกงดีเลวยังไง เพื่อนในเฟซบุ๊คที่เก่งภาษาอังกฤษผ่านมาเห็นก็จะช่วยแนะนำแก้ไขให้ และการแสดงความเห็นเป็นภาษาอังกฤษบ่อยๆ ก็จะทำให้ไม่รู้สึกว่ามันน่ากลัวเวลาต้องเขียนงานค่ะ นอกจากนี้พิมพ์ลง Google เมื่อมีประโยคที่ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกมั้ย วางคำขยายถูกตำแหน่งหรือยัง ให้ลองพิมพ์ประโยคนั้นลง Google ดูค่ะ ผลลัพธ์ที่ขึ้นมาจะช่วยยืนยันได้ว่ามีคนเขียนแบบนี้หรือไม่ แต่ต้องอ่านทีละผลลัพธ์ดีๆ ว่าเขาใช้ในสถานการณ์เดียวกันกับเราหรือไม่
                ความสำคัญของการเขียนนั้นมีมากมายการเขียนเป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่านเป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อนเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์ เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม    เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดงความรู้สึกและแนวคิด เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งประโยชน์ของการเขียนมีมากมาย และหากถ้าเราเขียนสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว แล้วสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องและชัดเจน จะทำให้เรามีความสามารถในการเขียนมากขึ้น เนื่องจากทักษะการเขียนเป็นทักษะทางภาษาที่ยากและซับซ้อนที่สุด การเขียนเป็นกระบวนการที่ต้องผ่านการคิดหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงความคิดหรือการเลือกคำถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้นในการเขียน นักเรียนต้องมีความสามารถอย่างแท้จริงในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างทางภาษาเป็นอย่างดี ซึ่งการที่นักเรียนจะมีทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีนั้น นักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนเป็นเวลานาน และมีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอเพื่อความก้าวหน้าในการเขียนต่อไป  ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน และเราสามารถที่จะเป็นผู้เขียนที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านไวยากรณ์อย่างแท้จริง และเราสามารถนำทักษะการเขียนโดยใช้เทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในด้านการเรียนและการทำงานในอนาคตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น